Archive List for logistics-column(2 / 3Page)

AWB คืออะไร คำอธิบายเกี่ยวกับ Air Waybill และความแตกต่างระหว่าง MAWB และ HAWB

logistics-column

B / L เป็นเอกสารสำคัญสำหรับการจัดส่งสินค้าทางทะเลโดยมีทั้ง Master B / L และ House B / L นอกจากนี้ยังมี Air Waybill (AWB) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการจัดส่งสินค้าทางอากาศอีกด้วย ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ AWB AWB (Air Waybill) คืออะไร AWB คือ ใบกำกับสินค้าสำหรับการขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ โดยมีบทบาทแบบเดียวกับใบส่งสินค้าของ EMS หรือ DHL รายละเอียดบน AWB มีใครบ้าง 1. ชื่อสายการบิน 2. หมายเลข AWB 3. SHIPPER: ชื่อผู้ขนส่งและที่อยู่ 4. CONSIGNEE: ชื่อผู้รับที่อยู่ 5. สนามบินต้นทาง 6. สนามบินปลายทาง 7. หมายเลขเที่ยวบิน 8. ปริมาณสินค้า 9. น้ำหนักรายการ 10. น้ำหนักที่ต้องชำระ 11. ค่าขนส่งทางอากาศ * ตามที่จัด 12. ชื่อรายการ * ค่าบริการเพิ่มเติม (ค่าน้ำมัน,ค่ารักษาความปลอดภัย ฯลฯ) Master AWB คืออะไร ? คือ AWB (Air way bill) ที่ Shipper และ สายการบินทำสัญญาโดยตรง แต่โดยทั่วไปแล้ว forwarder ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทสายการบินจะออก AWB แม้ว่าจะเป็นสัญญาโดยตรงก็ตาม SHIPPER และ CONSIGNEE จะเป็นผู้จัดส่งและผู้รับสินค้าที่แท้จริง ยกตัวอย่างเช่น TOYOTA Thailand เป็นผู้ส่งและ TOYOTA Japan เป็นผู้รับสินค้า TOYOTA Thailand จะจดทะเบียนในฐานะ SHIPPER และ TOYOTA Japan ในฐานะ CONSIGNEE ตามที่ระบุไว้ในตอนต้นเนื่องจาก AWB เป็นสัญญาการจัดส่งโดยตรงระหว่างผู้จัดส่งและสายการบิน โดยสายการบินนั้นๆจะเป็นผู้ดำเนินการการขนส่งตั้งแต่สนามบินต้นทางไปยังสนามบินปลายทาง […]

ความแตกต่างระหว่าง Demurrage และ Detention บทความนี้เราจะมาอธิบาย การนับระยะเวลาที่ตู้สินค้าสามารถ อยู่ที่ท่าเรือ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะอ้างอิงจาก Demurrage และ Detention ที่ประเทศญี่ปุ่น

logistics-column

สิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องตรวจสอบเมื่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ นั่นคือ free Time และ detention ซึ่งหากคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ อาจจะทำให้เกิดปัญหาและค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามมาภายหลัง วิดีโอแอนนิเมชั่นเกี่ยวกับ Free Time/Demurrage/Detention คืออะไร? Free Time คืออะไร? คือ ระยะเวลาที่ตู้สินค้าสามารถอยู่ที่บริเวณท่าเรือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อนำเข้าสินค้าทางเรือ หลังจาก Free time หมดลง ค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นทันทีหากตู้ยังอยู่ที่ท่าเรือ เราจะเรียกว่า Demurrage โดยระยะเวลานั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายเรือ ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 3-14 วัน ในกรณีตู้เย็น (Reefer) และตู้สินค้าอันตราย ระยะเวลา Free time จะน้อยกว่าตู้สินค้าปกติ ซึ่งโดยปกติ จะอยู่ที่ 3–5 วัน ซึ่งคุณสามารถสอบถามข้อมูลเหล่านี้ได้จาก forwarder Demurrage นับอย่างไร? ถ้า Demurrage = 7 วัน เราจะเริ่มนับจากวันไหน? โดยปกติแล้วจะเริ่มนับตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ตู้มาถึงท่าเรือแล้ว อย่างไรก็ตาม Free time จะมากน้อยแค่ไหน เริ่มนับเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสายเรือ ยกตัวอย่าง เช่น • Free time: 7 days • ETA: 1 ตุลาคม 2018 • Delivery date: 2 ตุลาคม 2018 • เริ่ม Free time: เที่ยงคืน ของวันที่ 3 ตุลาคม 2018 • Free time: 3 – 10 ตุลาคม 2018 • Demurrage: เริ่มนับจากวันที่ 11 ตุลาคม 2018 ในกรณีที่คุณต้องจ่ายค่า Free Time เราอยากจะขอแนะนำสถานการณ์ที่คุณควรจะขอ Free time ที่มากขึ้น กรณีนำเข้าสินค้าเป็นครั้งแรก คุณควรระวังในกรณีการเดินพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าสินค้าครั้งแรก อาจจะมีติดขัดบ้าง ด้านการลงทะเบียน หรือเอกสารที่ไม่ครบถ้วน […]

กระบวนการส่งออกสินค้าทางทะเล แบบ FCL,LCL

logistics-column

เมื่อเราเลือกที่จะจัดส่งสินค้าทางทะเล สินค้าจะถูกส่งไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร? แน่นอน การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศย่อมแตกต่างกับการส่งภายในประเทศ โดยสินค้าจะต้องผ่านพิธีการหลายขั้นตอน บทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ ในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่รับสินค้าต้นทาง ไปจนถึงการส่งสินค้าถึงปลายทาง 1.การโหลดสินค้า ใส่ตู้คอนเทนเนอร์/รถบรรทุก การจัดส่งสินค้า แบบ FCL(Full Container Load) เมื่อสินค้าที่โรงงานพร้อมจัดส่ง สินค้าจะถูกบรรจุลงกล่องหรือนำจัดเรียงไว้บน pallet โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้านั้นๆ หลังจากนั้นสินค้าจะถูกโหลดขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถโฟล์คลิฟ หรือ ยกโดยแรงงานคน ซึ่งโดยปกติแล้วหน้าที่ในการโหลดสินค้าจะเป็นของผู้ส่งออก การจัดส่งสินค้า แบบ LCL(Less Than Container Load) ในกรณีที่สินค้ามีจำนวนไม่มากพอที่จะโหลดใส่ตู้ตอนเทนเนอร์ได้ เราขอแนะนำให้คุณส่งสินค้าแบบ LCL ซึ่งในกรณีนี้ สินค้าจะถูกส่งมาจากโรงงานโดยรถบรรทุก และนำมาโหลดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ รวมกับสินค้าอื่นๆ ที่ CFS (Container Freight Station) เอกสาร ผู้ส่งออกสินค้าจะต้องเตรียมเอกสาร Invoice และ Packing เมื่อได้ทำการจองเรือที่แน่นอนแล้ว และส่ง VGM ให้ forwarders หลังจากที่โหลดสินค้าเสร็จแล้ว เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป 【บทความที่เกี่ยวข้อง】 How to make booking of Ocean Export Cargo to Forwarder?Explained the procedure of FCL Sea Shipment Which has the benefit, FLC or LCL? Explained how to calculate the BreakEve point of LCL shipment from Thailand 2. สินค้าถูกขนย้ายไปยัง Terminal และ CFS กรณีการจัดส่งสินค้า แบบ FCL ตู้สินค้าที่โหลดเสร็จแล้วจะถูกขนส่งมายังท่าเรือโดยรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์จะถูกโหลดลงจากรถและจัดเก็บไว้ที่เทอร์มินอลเพื่อรอโหลดขึ้นเรือ กรณีการจัดส่งสินค้า แบบ LCL สินค้าจะถูกขนส่งไปโหลดสินค้าที่บริเวณ CFS เพื่อโหลดรวมกับสินค้าอื่นๆ หลังจากบรรจุสินค้าเสร็จแล้วตู้จะถูกขนส่งไปยังเทอร์มินอลเพื่อรอโหลดขึ้นเรือ 3. พิธีการศุลกากรเพื่อการส่งออก การดำเนินการทางด้านเอกสารทางศุลกากรต้องเสร็จสิ้นก่อนที่สินค้าจะผ่านเข้าประตูท่าเรือ […]

เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และ ความสำคัญของการบรรจุสินค้า (Packing/Lashing)

logistics-column

สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศการบรรจุสินค้า (packing) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสินค้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา บทความนี้เราจะแนะนำแนวทางการจัดการเมื่อสินค้าได้รับความเสียหาย โดยก่อนอื่นเราขออธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าในระหว่างการขนส่งก่อน สินค้าเกิดความเสียหายที่ไหนได้บ้าง ? ・ระหว่างการโหลดสินค้าขึ้นรถบรรทุกหรือตู้คอนเทนเนอร์บริเวณโรงงาน สินค้าที่ถูกโหลดขึ้นรถบรรทุกหรือบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ไม่ว่าจะด้วย แรงงานคน รถโฟล์คลิฟท์ รถเครน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ ก็มักจะเกิดจากความผิดพลาดจากการประสานงานของผู้โหลดสินค้า ตัวอย่างเช่น การทำสินค้าหล่นในระหว่างการโหลด, การประสานงานที่ผิดพลาดของรถโฟล์คลิฟท์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งการใช้รถเครนในการโหลดสินค้าที่มีน้ำหนักมากซึ่งหากเกิดการประสานงานที่ผิดพลาดแล้วก็อาจจะนำมาซึ่งความเสียหายที่มากกว่าทรัพย์สินอีกด้วย ・ระหว่างการขนส่งสินค้าจากโรงงาน ไปยัง CFS (Container Freight Station) และท่าเรือ (Terminals) สินค้าที่อยู่บนรถบรรทุกอาจจะได้รับความเสียหายจากการสั่นสะเทือน เนื่องจากสภาพพื้นผิวถนนที่ชำรุดหรือในระหว่างการขนส่งนั้นเกิดอุบัติเหตุ ・ระหว่างการโหลดสินค้าที่ CFS (Container Freight Station) ในกรณีการส่งสินค้าแบบ LCL หรือสินค้าที่ไม่สามารถโหลดที่โรงงานได้ สินค้าจะต้องถูกส่งมาโหลดบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ CFS กรณีการโหลดสินค้า LCL วิธีการโหลดสินค้าอาจจะแตกต่างกันในแต่ละครั้งเนื่องจากสินค้าถูกส่งมาจากหลายๆโรงงานและโหลดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บริเวณจุดโหลด ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดในระหว่างการโหลด หรือ เกิดความเข้าใจผิดในการประสานงานกับโฟล์คลิฟท์ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเราจะสามารถแจ้งผู้โหลดงานได้ว่า ไม่ขอให้มีสินค้าอื่นมาวางทับบนสินค้าของเรา แต่ก็ยังมีโอกาสที่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการประสานงานที่ผิดพลาดบริเวณจุดโหลดสินค้า ・ระหว่างการโหลดสินค้าโดยเครนที่ท่าเรือ หลังจากที่โหลดสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ตู้จะถูกโหลดลงเรือโดยเครนที่ท่าเรือ ขั้นตอนนี้จะเป็นการดำเนินงานโดยพนักงานที่ท่าเรือ ซึ่งปกติแล้วตู้สินค้าจะถูกวางซ้อนกันบนเรือ และบางครั้งตู้อาจจะถูกเคลื่อนย้ายหลายครั้ง จนส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าภายในตู้ได้ ・ระหว่างการขนส่งทางทะเล สาเหตุการเสียหายของสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ อาจเกิดจากการสั่นสะเทือนจากคลื่นและลมทะเลในระหว่างที่ตู้คอนเทนเนอร์อยู่บนเรือ ・ระหว่างการยกตู้สินค้าออกจากเรือโดยเครน เช่นเดียวกับการโหลดตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นเรือ ตู้จะถูกยกออกจากเรือโดยเครนที่ถูกจัดการโดยพนักงานที่ท่าเรือ ซึ่งความไม่ชำนาญอาจทำให้ตู้สินค้าเกิดการสั่นสะเทือนและส่งผลให้สินค้าภายในตู้เกิดความเสียหายได้ ・ระหว่างการนำสินค้าออกจากตู้ที่ CFS (Container Freight Station) เช่นเดียวกันกับการโหลดสินค้าที่ CFS ขั้นตอนการนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ก็สามารถเกิดความเสียหายต่อสินค้า เนื่องจากการประสานงานที่ผิดพลาดระหว่างผู้ปฏิบัติงานและรถโฟล์คลิฟท์ได้เช่นเดียวกัน ・ระหว่างทางในการขนส่งสินค้าจาก CFS /ท่าเรือ ไปยังโรงงาน สภาพถนนที่แย่หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ก็เป็นเหตุให้สินค้าที่อยู่ในตู้ได้รับความเสียได้ ・ระหว่างการขนสินค้าออกจากตู้ที่โรงงาน เช่นเดียวกันกับการโหลดสินค้าที่ต้นทาง ความผิดพลาดและการเข้าใจผิดจากการประสานงานของเครนและรถโฟร์คลิฟ ก็สามารถเป็นเหตุสินค้าเกิดความเสียหายได้ เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ? อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ในกระบวนการส่งออกสินค้าทางทะเล มีความเสี่ยงที่สินค้าจะได้รับความเสียหายในทุกกระบวนการและเมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย สิ่งแรกที่ควรทำคือตรวจสอบว่าสินค้าเกิดความเสียหายที่ไหน ก่อนอื่นเราต้องระบุให้ได้ก่อนว่าสินค้าที่เสียหายนั้นได้รับความเสียหายในขณะที่อยู่ในกระบวนการใด เช่น ในระหว่างการโหลดสินค้าที่โรงงาน, ในระหว่างการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือ, ในระหว่างการโหลดสินค้าที่ CFS และโหลดตู้สินค้าลงเรือ หรือในระหว่างที่ตู้สินค้าอยู่บนเรือ ซึ่งหลังจากที่เราระบุได้แล้วว่าสินค้าได้รับความเสียหายที่ไหน เราก็จะสามารถพิจารณาได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นๆ ถึงแม้ว่าในกรณีของ LCL (Less than Container Load) สินค้าจะมีความเสี่ยงที่ได้รับความเสียหายมากกว่า FCL […]

เยี่ยมชม ท่าเรือแหลมฉบัง และ ICD ลาดกระบัง

logistics-column

เราได้มีส่วนร่วมเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบัง และICDลาดกระบังซึ่งสนับสนุนโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่เราได้รับข่าวสารโดยตรงจากทางผู้ประกอบการท่าเรือแหลมฉบังและICDลาดกระบัง ท่าเรือแหลมฉบัง Mr. Sorop, ผู้บริหารด้านวิศวะกรรมของท่าเรือแหลมฉบัง ประวัติความเป็นมาของท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลักที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1987 โดยก่อตั้งที่ชลบุรี และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีขนาดพื้นที่ 6,340 ไร่ อยู่ห่างจากท่าเรือกรุงเทพประมาณ 100 กิโลเมตร และ ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ 95 กิโลเมตร สินค้าถูกลำเลียงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ทางถนน ทางรางรถไฟ ทางเรือ และอีกหลายเส้นทางที่ใช้ในการลำเลียงสินค้า ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่ใช้ระบบการบริหารจัดการระดับสากลที่ได้มาตรฐานและมีการกระจายขนส่งสินค้ามากกว่า 10,800,000 ทีอียูต่อปี และรถขนส่งสินค้ามากกว่า 2 ล้านคันที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังในการส่งออกและนำเข้าสินค้า ได้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบตู้คอนเทรนเนอร์ด้วยเครื่อง x-ray ซึ่งสินค้าในตู้คอนเทรนเนอร์ทุกตู้ จะถูกตรวจสอบด้วยระบบ X-ray นี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้โชว์ภาพประกอบการอธิบายถึงขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าภายในตู้คอนเทรนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นทีของแหลมฉบังอีกด้วย ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบังให้บริการ 3 เฟสด้วยกัน เฟสแรกเปิดให้บริการเรียบร้อยตั้งแต่ปี 1991 เฟสที่สอง เปิดให้บริการแต่ยังไม่เต็มรูปแบบซึ่งมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการก่อสร้างและพัฒนา ส่วนในเฟสสาม กำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่จะติดตั้ง Phase 1: เสร็จเรียบร้อย A0 A1-5 B1-5 Altitude – 14 m Phase 2: เปิดให้บริการบางส่วนและอยู่ระหว่างดำเนินงาน C 0 C1-3 D1-3 Altitude – 16 m Phase 3: อยู่ในขั้นตอนวางแผนและคัดเลือกผู้ดำเนินงาน E0 E1-2 F1-2 Altitude – 18.5 m ทางรางรถไฟสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟไปยัง ICD ลาดกระบัง แต่ดูเหมือนว่าการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟจาก ICD ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังยังใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งในพื้นที่ลาดกระบัง จึงต้องมีการวางแผนขยายพื้นที่ทางรางรถไฟมากขึ้น ตัวโครงการ 1 และ 2 , พื้นที่สีเขียวภายในท่าเรือ ทางรางรถไฟ จุด X-ray สามารถมองเห็นได้จากมุมสูงของตัวอาคารแหลมฉบัง เกี่ยวกับ ท่าเรือฮัทชิสัน ประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย […]

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง House B / L และ Master B / L? คำอธิบายของข้อดีและข้อเสียของ House/Master ในฐานะผู้ให้บริการขนส่งสินค้า

logistics-column

โดยทั่วไป เราจะติดต่อกับทางผู้ส่งออกก็ต่อเมื่อต้องการส่งออกสินค้าไปทางเรือ ลูกค้าสามารถเลือกใช้ระหว่าง House B/L หรือ Master B/L สำหรับ House B/L และ Master B/L มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ส่งสินค้าทราบขณะทำการจองและต้องเข้าใจความแตกต่างได้อย่างถูกต้องที่สุด ข้อแตกต่างระหว่าง House B/L และ Master B/L มีดังต่อไปนี้ วิดีโอเกี่ยวกับ House B/L และ Master B/L คืออะไร ? House B/L และMaster B/L คืออะไร ? การออก House B/L และ Master B/L แตกต่างกันที่ผู้ออก B/L House B/L ออกโดย Forwarder Master B/L ออกโดย บริษัทเรือ ซึ่งทั้ง House B/L และ Maser B/L จะมีการออกหลายประเภท เช่น Original B/L, Surrender B/L และ Sea Waybill สามารถดูรายละเอียดได้ตามนี้ Explanation about B/L! Let’s understand the role of B/L used for trade. ตัวอย่างการใช้ House B/L สำหรับการออกสินค้า ข้อแตกต่างที่สำคัญ ① Shipper column : ชื่อบริษัทที่ทำการส่งออกสินค้า ② Cnee column : ชื่อบริษัทที่ทำการนำเข้าสินค้า ③ B/L format : รูปแบบ B/L ของ Forwarder ④ Insertion of B/L : ตัวแทนของ […]

FCL และ LCL มีประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการคำนวณจุดคุ้มทุน ของการส่งสินค้าแบบ LCL จากประเทศไทย

logistics-column

สำหรับการจัดส่งสินค้าทางทะเล นั้น มีด้วยกัน 2 ประเภท นั่นคือ FCL และ LCL FCL (Full Container load) คือ การโหลดสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีผู้ส่งออกเพียงเจ้าเดียว LCL (Less than Container Load) คือ การโหลดสินค้าโดยที่ผู้ส่งออกหลายเจ้าเปิดตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกัน ซึ่งเราควรทำความเข้าใจระหว่าง FCL และ LCL ว่ามีประโยชน์ แตกต่างกันอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอาจขึ้นตามมาจากเข้าใจผิด วิดีโอเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการส่งสินค้าทางทะเลแบบ FCL และ LCL ความแตกต่างระหว่างการส่งสินค้าทางทะเลแบบ FCL และ LCL การส่งออกสินค้าแบบ FCL ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ขนาดด้านใน (Inside Dimension) และ น้ำหนักของสินค้าที่มากที่สุดที่ตู้ แต่ละประเภทจะรับได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการโหลดสินค้า ขนาดของ Container (ขนาดด้านใน,inside dimension 20ft container: 2.3m (กว้าง) x 5.7m (ยาว) x 2.4m (สูง) 40ft container: 2.3m (กว้าง) x 12m (ยาว) x 2.4m (สูง) 40ft HC (high cube): 2.3m (กว้าง) x 12m (ยาว) x 2.7m (สูง) หมายเหตุ : ขนาดภายในตู้คอนเทนเนอร์อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับสายเรือ น้ำหนักที่รับได้มากที่สุดสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20ft, 40ft, 40ft HC: ประมาณ 25 tons สำหรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด ของตู้คอนเทนเนอร์ , 20ft,40ft และ 40HC. จะสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากันที่ 25 ตัน . โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าตู้ 40ft จะสามารถโหลดสินค้าหนักได้ถึง 50 […]

ความแตกต่างระหว่าง การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ต้นทาง(Freight Prepaid) และ การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ปลายทาง (Freight Collect) ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับความเสี่ยง ในการชำระค่าบริการ ด้วยความรู้ด้านการขนส่งที่ถูกต้อง

logistics-column

เราต้องการที่จะอธิบายถึงความแตกต่าง ระหว่าง ”Freight Prepaid” และ “Freight Collect” โดยจะคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างได้ง่ายขึ้นโดย การแปลความหมายของแต่ละคำเป็นภาษาอังกฤษ Freight : Fare to transport the goods (ค่าระวางสินค้า) Prepaid: Pay in advance (จ่ายเงินล่วงหน้า) Collect : To take something such as money and tax (การเรียกเก็บบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เงิน และ ภาษี) ดังนั้น (Freight prepaid) คือ ผู้ส่ง (Shipper) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและในทางกลับกัน (Freight collect) คือ ผู้รับสินค้าปลายทาง (Importer/ Consignee) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าโดยจ่ายที่ปลายทาง วิดีโอเกี่ยวกับ Freight prepaid และ Freight Collect ใครจะเป็นคนจ่ายค่าบริการขนส่งสินค้า? Freight Prepaid: ผู้ส่งสินค้า เป็นผู้จ่ายค่าบริการ Freight Collect: ลูกค้าปลายทางเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า ค่าบริการขนส่งสินค้าคืออะไรบ้าง? ค่าบริการขนส่งสินค้าในที่นี้ คือ ค่าบริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนส่งทางเรือและขนส่งทางเครื่องบิน โดยเริ่มตั้งแต่ B/L (Bill of landing) สำหรับการขนส่งทางเรือ หรือ AWB (Air Waybill) สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ, ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งทางรถบรรทุก ทั้งทางด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้า, ค่าใช้จ่ายของท่าเรือ ซึ่งยังไม่รวมค่าธรรมเนียมภาษีศุลกากร ข้อกำหนดในการขนส่งสินค้า(Term,Incoterm)ที่เกี่ยวของกับ Freight prepaid และ Freight Collect Freight Prepaid: C&F, CIF, CFR, DDU, DDP Freight Collect : EXW, FOB สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Incoterm คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก link ด้านล่าง […]

คำแนะนำในการเขียนเอกสาร B/L การอธิบายความเสี่ยงของความผิดพลาดของ B/L และวิธีลดปัญหาการออกเอกสาร B/L

logistics-column
B/L 書き方

ใบตราส่งสินค้าทางทะเล คือ เอกสารใช้ในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศและเป็นเอกสารสำคัญที่นำมาใช้เพื่อรับสินค้าที่ปลายทาง เราจะอธิบายสิ่งที่จำเป็นต้องเขียนในเอกสาร B/L และจะอธิบายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดในเอกสาร B/L ซึ่งรูปแบบของเอกสาร B/L จะแตกต่างตามแต่สายเดินเรือและตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะคล้ายกัน (บทความที่เกี่ยวข้อง) B/L คืออะไร สามารถอธิบายหน้าที่และขั้นตอนการทำงานได้ดังภาพต่อไปนี้ หัวข้อหลักของ B/L 1.ชื่อสายเรือ / 2. หมายเลข B/L / 3.ชื่อและที่อยู่ของประเทศของผู้ส่งออก / 4.ชื่อและที่อยู่ของประเทศของผู้รับสินค้าปลายทาง / 5.ชื่อผู้รับสินค้าที่ทำการจัดส่งต่อจากผู้รับสินค้าปลายทาง / 6.ชื่อเรือและหมายเลขเที่ยวเรือ / 7.เมืองท่าต้นทาง / 8.เมืองท่าปลายทาง / 9.สถานที่รับสินค้าปลายทาง / 10.รายการสินค้า : เครื่องหมาย ปริมาณ น้ำหนัก จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ แบบฟอร์มการบรรจุหีบหอ อื่นๆ / 11.ประเภทของ B/L / 12.สถานที่จ่ายค่าระวาง : ต้นทางจ่ายโดยผู้ส่งออกและปลายทางจ่ายโดยผู้นำเข้าสินค้า /13.ข้อมูลของตัวแทนที่ประเทศปลายทาง / 14.วันที่ออก B/L เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดใน B/L หากคุณไม่แก้ไขข้อผิดพลาดใน B/L เช่น การสะกดข้อความผิด ทางผู้นำเข้าสินค้าจะไม่สามารถรับสินค้าที่ปลายทางได้ B/L ถูกสร้างและจัดทำขึ้นโดย S.I (Shipping Instruction) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีข้อความผิดพลาดในหลายๆจุด ดังนั้นผลที่ตามมาก็คือทางสายเรือและผู้จัดส่งสินค้าก็มักจะสะกดคำผิดเช่นเดียวกัน โปรดระวังข้อผิดพลาดในทุกจุดของ B/L เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่าปรับในการแก้ไขเอกสาร B/L ถ้าต้นฉบับ B/L ถูกส่งไปไปยังผู้นำเข้าสินค้าแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ นอกจากจะส่ง B/L กลับมายังผู้จัดส่งสินค้าที่ต้นทางเพื่อแก้ไข กรณีนี้ อาจจะเกิดค่าใช้จ่ายตามมาทั้งค่าแก้ไขเอกสาร สำหรับเนื้อหาและคำอธิบายของเอกสาร B/ L โปรดตรวจสอบอย่างรอบคอบเมื่อคุณได้รับ B/L ฉบับร่าง และตรวจสอบการออก B/L อย่างละเอียดทั้งในด้านของผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้า ประโยชน์ของ House B/L Master B/L ถูกออกโดยสายเรือ และ House B/L ถูกออกโดยตัวแทนส่งออกสินค้า ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า Master B/L ในเรื่องของการขนส่งเราต้องแก้ปัญหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าคุณใช้บริการผู้ส่งออกสินค้าที่มีประสบการณ์และให้บริการอย่างเป็นมิตร คุณจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหาของ B/L ได้ทันที (บทความที่เกี่ยวข้อง) […]

วิธีการส่งออกสินค้าทางเรือและกระบวนการการจัดส่งสินค้าแบบเต็มตู้ (FCL)

logistics-column

เมื่อคุณต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศโดยการจัดส่งทางเรือ คุณจะดำเนินการจัดส่งได้อย่างไร? คุณอาจมีประสบการณ์ในการส่งสินค้าปริมาณน้อยโดยการใช้บริการ courier service เช่น EMS หรือ DHL แต่ไม่มีโอกาสมากที่จะส่งสินค้าทางเรือในการขนส่งแบบรายบุคคล เราจะอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการขนส่งสินค้าเมื่อต้องการส่งออกสินค้าทางเรือ โปรดตระหนักและให้ความสำคัญถึงคำอธิบายเกี่ยวกับการขนส่งแบบเต็มตู้ (FCL) วิดีโอการขนส่งสินค้าแบบ FCL – YouTube 1. ติดต่อกับผู้ให้บริการในการจองเรือเพื่อจัดส่งสินค้า หากต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ คุณควรแจ้งผู้บริการขนส่งให้ทราบเกี่ยวกับการจอง โดยทั่วไปการจองเรือส่งสินค้านั้นควรได้รับการแจ้งผ่าน e-mail แต่ในกรณีฉุกเฉินเราสามารถรับคำขอจาก LINE หรือทางโทรศัพท์ได้ ซึ่งเราจะขอให้คุณส่งคำร้องผ่านอีเมล์เพื่อทำการบันทึกในภายหลัง รายละเอียดที่ลูกค้าต้องแจ้งเพื่อให้บริษัททำการเปิด Booking 1. ชื่อและประเภทของสินค้า (สินค้าทั่วไป, สินค้าอันตราย, สินค้าควบคุมอุณหภูมิ) 2. สถานที่ขนถ่ายสินค้า 3. ประเทศปลายทาง 4. ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ (20 ฟุต, 40 ฟุต, 40 HC) 5. จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ 6. น้ำหนักสินค้า 7. วันที่และเวลา 8. บริษัทขนส่งที่ต้องการ 9. คำขอพิเศษอื่น ๆ ตัวอย่างคำขอสำหรับการทำ Booking 1. สินค้า : อะไหล่รถยนต์ 2. จุดปล่อยสินค้าขาออก : กรุงเทพฯ 3. จุดปล่อยสินค้าขาเข้า : Tokyo 4. ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ และ 5. จำนวน : 4×20’D , 2×40’HC 6. น้ำหนักสินค้า : ประมาณ 15 ตัน / ตู้คอนเทนเนอร์ 7. กำหนดการ : วันที่เรือออกจากต้นทาง (ETD BKK) วันที่ 24 มี.ค. 8. ผู้ให้บริการ (สายเรือ) : TS Line 9. หมายเหตุ freetime ปลายทาง 21วัน กรุณาเขียนรายละเอียดอย่างกระชับและติดต่อเราทางe-mail สำหรับตารางการเดินเรือโปรดติดต่อตัวแทนผู้ส่งสินค้าล่วงหน้า […]

To the top