This post is also available in: enEnglish thไทย

วิดีโอแอนนิเมชั่น เกี่ยวกับ DDP

เงื่อนไข DDP คืออะไร ?


・เงื่อนไขนี้ ทางผู้ส่งออก จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัย

เงื่อนไข DDP ย่อมาจาก “Delivered Duty Paid” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขและข้อตกลงในการส่งสินค้า
เงื่อนไข DDP ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องค่าขนส่งและค่าประกันภัย ซึ่งเงื่อนไขนี้รวมอยู่ใน กลุ่ม D ใน Incoterms

ลักษณะของเงื่อนไข DDP


・เงื่อนไข DDP ทางผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบงานและความเสี่ยงมากกว่าทางผู้นำเข้า
ซึ่งทางผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบการทำพิธีการศุลกากรขาเข้าด้วยเช่นกัน

DDP เป็นเงื่อนไขที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้นำเข้า ซึ่งในทางกลับกันผู้ส่งออกคือผู้รับผิดชอบงานต่างๆในเงื่อนไขนี้

ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัยจนกว่าสินค้าจะถูกส่งไปยังปลายทางที่กำหนดในประเทศผู้นำเข้า

DDP คือเงื่อนไขเดียวที่ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้าเท่านั้น ซึ่งรวมไปถึงจ่ายค่าขนส่งสินค้าไปยังประเทศผู้นำเข้า

หรือกล่าวได้ว่า ผู้ส่งออกเป็นผู้จ่ายค่าระวางและการประกันภัยและรับความเสี่ยงจนกว่าสินค้าจะถึงปลายทางที่กำหนด

ดังนั้น ผู้ส่งออกควรมีประสบการณ์ในการส่งออกสินค้า อาธิเช่น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนผู้ส่งออกสินค้าหรือผู้ให้บริการ ไม่เพียงแต่ในประเทศผู้ส่งออกแต่ยังรวมไปถึงในประเทศผู้นำเข้าด้วย

ในทางตรงข้าม เงื่อนไข DDP ในมุมมองของผู้นำเข้า เป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด

อย่างไรก็ตามหากผู้ส่งออกต้องการเอกสารสำหรับขั้นตอนพิธีการศุลกากร ผู้นำเข้าจะต้องให้ความร่วมมือกับขั้นตอนนี้

ต้นทุนและความเสี่ยง เปลี่ยนจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้าในเงื่อนไข DDP ได้อย่างไร ?


・ความรับผิดชอบของผู้ส่งออกจะเสร็จสิ้น ที่จุดหมายปลายทางที่กำหนดหลังจากผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า

ในเงื่อนไข DDP การถ่ายโอนความรับผิดชอบจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้า อยู่ที่ปลายทางที่กำหนดซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา

ผู้ส่งออกมีหน้าที่รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้า ค่าประกันภัย ค่าพิธีการศุลกากรขาเข้า ภาษีนำเข้าและภาษีอื่นๆ
อีกทั้งผู้ส่งออกมีหน้าที่รับผิดชอบความเสี่ยงระหว่างการขนส่งสินค้า หากเกิดความเสียหายขึ้น ทางผู้ส่งออกจะต้องชดเชยทั้งหมด

เงื่อนไข DDU คืออะไร ?


DDU ย่อมาจาก “Delivered Duty Unpaid” เป็นเงื่อนไขหนึ่งใน Incoterms ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม D
ความแตกต่างระหว่าง DDU และ DDP คือ การจ่ายภาษีขาเข้า

ในเงื่อนไข DDP ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีขาเข้าในประเทศ แต่ในเงื่อนไข DDU ผู้นำเข้าจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DDU ใน Incoterms 2010


・เงื่อนไข DDU ถูกยกเลิกไป และเงื่อนไข DAP ได้ถูกเพิ่มเข้ามาแทน

ใน Incoterms 2010 ฉบับล่าสุด เงื่อนไข DDU ได้ถูกยกเลิกไป เพราะในเงื่อนไข DDU ระบุข้อมูลไม่ชัดเจสว่าใครคือผู้รับผิดชอบค่า Terminal Charge

เงื่อนไข DAP คือ ทางผู้นำเข้าจะต้องทำการถ่ายสินค้าออก และรับผิดชอบค่า terminal charge

เราขอแนะนำให้ใช้เงื่อนไข DAP แทนที่เงื่อนไข DDU แต่เงื่อนไข DDU ก็ยังเป็นเงื่อนไขที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

สำหรับข้อกำหนดใน Incoterms 2000 จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อีก เพราะมีโอกาสที่จะใช้เงื่อนไข DDU
ในกรณีนั้น ควรเขียน ” Incoterms 2000″ ไว้ในเอกสาร

DAP คืออะไร ?


DAP ย่อมาจาก Deliver At Place เป็นหนึ่งในข้อกำหนดใหม่ใน Incoterms 2010

ในเงื่อนไข DAP ผู้ส่งออกมีหน้ารับผิดชอบการขนส่งสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อสินค้าพร้อมที่จะถ่ายลงจากเรือหรือเครื่องบิน ก่อนที่จะผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า


เมื่อขนส่งสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว ความรับผิดชอบ ความเสี่ยงและการโอนภาระค่าใช้จ่าย จะเปลี่ยนจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้า ซึ่งหมายความว่า ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าลง และรับภาระความเสี่ยงขณะที่ทำการถ่ายสินค้าลงเช่นกัน

สรุป

ครั้งนี้ เราได้แนะนำเกี่ยวกับเงื่อนไข DDP, DDU และ DAP

ในทางตรงกันข้าม สำหรับเงื่อนไข EXW ผู้นำเข้าจะมีหน้าที่รับผิดชอบมากที่สุด สำหรับผู้ส่งออกจะมีหน้าที่รับผิดชอบมากที่สุดในเงื่อนไข DDP


ในฐานะผู้ส่งออก จะต้องยืนยันให้แน่ใจว่าสินค้าไปถึง ณ ปลายทางอย่างปลอดภัยที่สุด สำหรับความปลอดภัยทางด้านขนส่งสินค้านั้น ทางผู้ส่งออกจะต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทางตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าและคู่ค้าทางพันธมิตรอื่นๆ

หากทางผู้ส่งออกคิดว่า มันเป็นเรื่องที่ยากสำหรับพวกเขาในขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า พวกเขาจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้เงื่อนไข DDP และเลือกใช้เงื่อนไข DAP แทน

เงื่อนไข DDP ได้ถูกยกเลิกใน Incoterms 2010 แต่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อเลือกใช้เงื่อนไข DDU แล้วจะต้องยืนยันให้แน่ใจเกี่ยวกับเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญา

ในเงื่อน DAP ผู้นำเข้าจะมีหน้าที่รับผิดชอบการถ่ายสินค้าลง การทำพิธีการศุลกากร และการขนส่งสินค้าภายในประเทศ

ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเงื่อนไข DDU เพราะเมื่อเลือกใช้เงื่อนไข DAP แทนเงื่อนไข DDU แล้ว จะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆให้ถูกต้องที่สุด