Tag List for Incoterms

คำอธิบายอย่างง่าย สำหรับเงื่อนไข DDP, DDU, และ also DAP!

logistics-column

วิดีโอแอนนิเมชั่น เกี่ยวกับ DDP เงื่อนไข DDP คืออะไร ? ・เงื่อนไขนี้ ทางผู้ส่งออก จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัย เงื่อนไข DDP ย่อมาจาก “Delivered Duty Paid” เป็นหนึ่งในเงื่อนไขและข้อตกลงในการส่งสินค้า เงื่อนไข DDP ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องค่าขนส่งและค่าประกันภัย ซึ่งเงื่อนไขนี้รวมอยู่ใน กลุ่ม D ใน Incoterms ลักษณะของเงื่อนไข DDP ・เงื่อนไข DDP ทางผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบงานและความเสี่ยงมากกว่าทางผู้นำเข้า ซึ่งทางผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบการทำพิธีการศุลกากรขาเข้าด้วยเช่นกัน DDP เป็นเงื่อนไขที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้นำเข้า ซึ่งในทางกลับกันผู้ส่งออกคือผู้รับผิดชอบงานต่างๆในเงื่อนไขนี้ ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัยจนกว่าสินค้าจะถูกส่งไปยังปลายทางที่กำหนดในประเทศผู้นำเข้า DDP คือเงื่อนไขเดียวที่ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้าเท่านั้น ซึ่งรวมไปถึงจ่ายค่าขนส่งสินค้าไปยังประเทศผู้นำเข้า หรือกล่าวได้ว่า ผู้ส่งออกเป็นผู้จ่ายค่าระวางและการประกันภัยและรับความเสี่ยงจนกว่าสินค้าจะถึงปลายทางที่กำหนด ดังนั้น ผู้ส่งออกควรมีประสบการณ์ในการส่งออกสินค้า อาธิเช่น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนผู้ส่งออกสินค้าหรือผู้ให้บริการ ไม่เพียงแต่ในประเทศผู้ส่งออกแต่ยังรวมไปถึงในประเทศผู้นำเข้าด้วย ในทางตรงข้าม เงื่อนไข DDP ในมุมมองของผู้นำเข้า เป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามหากผู้ส่งออกต้องการเอกสารสำหรับขั้นตอนพิธีการศุลกากร ผู้นำเข้าจะต้องให้ความร่วมมือกับขั้นตอนนี้ ต้นทุนและความเสี่ยง เปลี่ยนจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้าในเงื่อนไข DDP ได้อย่างไร ? ・ความรับผิดชอบของผู้ส่งออกจะเสร็จสิ้น ที่จุดหมายปลายทางที่กำหนดหลังจากผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า ในเงื่อนไข DDP การถ่ายโอนความรับผิดชอบจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้า อยู่ที่ปลายทางที่กำหนดซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา ผู้ส่งออกมีหน้าที่รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้า ค่าประกันภัย ค่าพิธีการศุลกากรขาเข้า ภาษีนำเข้าและภาษีอื่นๆ อีกทั้งผู้ส่งออกมีหน้าที่รับผิดชอบความเสี่ยงระหว่างการขนส่งสินค้า หากเกิดความเสียหายขึ้น ทางผู้ส่งออกจะต้องชดเชยทั้งหมด เงื่อนไข DDU คืออะไร ? DDU ย่อมาจาก “Delivered Duty Unpaid” เป็นเงื่อนไขหนึ่งใน Incoterms ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม D ความแตกต่างระหว่าง DDU และ DDP คือ การจ่ายภาษีขาเข้า ในเงื่อนไข DDP ผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีขาเข้าในประเทศ แต่ในเงื่อนไข DDU ผู้นำเข้าจะเป็นผู้รับผิดชอบ ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DDU ใน Incoterms 2010 ・เงื่อนไข DDU ถูกยกเลิกไป และเงื่อนไข DAP ได้ถูกเพิ่มเข้ามาแทน ใน Incoterms 2010 ฉบับล่าสุด […]

คำอธิบายอย่างง่าย สำหรับเงื่อนไขและการรับผิดชอบในการขนส่งสินค้าแบบ EXW

logistics-column

วิดีโอแอนนิเมชั่น เกี่ยวกับ EXW เงื่อนไข EXW EXW (EX Works) เป็นหนึ่งในเงื่อนไขและข้อตกลงในการขายสินค้าที่เรียกว่า INCOTERMS EXW คืออะไร? ・EXW เป็นเงื่อนไขการค้าที่เป็นภาระน้อยที่สุดสำหรับผู้ขายสินค้า! Incoterms (International Commercial Terms) คือ เป็นข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล มีทั้งหมด 11 รูปแบบ ผู้ขายส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย ・ผู้ขายส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย เช่น โรงงาน หรือโรงพักสินค้า ฯลฯ โดย ผู้ซื้อรับภาระในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายรวมทั้งความเสี่ยงหลังจากการส่งมอบของแล้ว เช่น การขนของขึ้นยานพาหนะ การปฏิบัติพิธีการขาออก เป็นต้น ผู้ขายจะมีหน้าที่เตรียมสินค้าไว้ และเตรียมส่งมอง ณ สถานที่ของผู้ส่งออก หลายคนเรียกเทอมแบบนี้ว่า “ราคาหน้าโรงงาน” ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบตั้งแต่ขนสินค้าขึ้นรถ ทำศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก แต่สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ขายได้ ภาระค่าใช้จ่ายและภาระความเสี่ยงใน EXW ・ต้นทุนและความเสี่ยงของผู้ซื้อ ณ สถานที่ตั้งของผู้ขาย เงื่อนไข EXW คือ เมื่อผู้ซื้อได้ทำการส่งสินค้าไปยังผู้ขาย ณ โรงงานหรือโกดังเก็บสินค้าแล้ว ความรับผิดชอบเรื่องต้นทุนต่างๆ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น จะถือว่าเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งหมายความว่า ผู้ซื้อจะต้องดูแลค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ เริ่มจากค่าขนส่งสินค้าที่จะส่งออก เช่น ค่ารถบรรทุกที่ใช้ในการรับสินค้า, ค่าทางพิธีการศุลกากร, ค่าขนส่งสินค้าสำหรับทางเรือและทางอากาศ และ ค่านำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศ เงื่อนไขและข้อตกลงทั้งหมด 11 ข้อ ถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็น Incoterm สำหรับเงื่อนไข EXW เป็นเงื่อนไขเดียวที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าขนส่งสินค้าส่งออก และค่าศุลกากร อย่างไรก็ตามผู้ขายจะต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องการได้รับการอนุมัติการส่งออกจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ข้อมูลที่ผู้นำเข้าต้องการสำหรับพิธีการศุลกากรส่งออก เงื่อนไข EXW คืออะไร ในมุมมองของผู้ส่งออก ・คือเงื่อนไขการค้าที่เป็นภาระน้อยที่สุดสำหรับผู้ส่งออก! แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นซื้อขายสินค้า EXW เป็นเงื่อนไขการค้าที่มีภาระผูกพันและความเสี่ยงน้อยที่สุดสำหรับผู้ขาย สำหรับมุมมองของผู้ส่งออก ถ้าสินค้าถูกผลิตตรงเวลา และสินค้าถูกส่งออกไปยังผู้ซื้อแล้ว หลังจากนั้น ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบงานเกือบทั้งหมด ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นเงื่อนไขทางการค้าที่เหมาะสม เมื่อคุณเพิ่งเริ่มส่งออกไปยังต่างประเทศหรือคุณไม่เคยมีสินค้าส่งออกมาก่อนเลย หากคุณมีประสบการณ์ในการส่งออกสินค้าน้อย เราขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการใช้เงื่อนไข EXW ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบสำหรับผู้ส่งออกในเงื่อนไข EXW เราจะมาพิจารณาในข้อดีและข้อเสียสำหรับเงื่อนไข EXW จากมุมมองของผู้ส่งออก ข้อได้เปรียบสำหรับผู้ส่งออก ・ผู้ส่งออกจะใช้ต้นทุนน้อย […]

ความแตกต่างระหว่าง การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ต้นทาง(Freight Prepaid) และ การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ปลายทาง (Freight Collect) ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับความเสี่ยง ในการชำระค่าบริการ ด้วยความรู้ด้านการขนส่งที่ถูกต้อง

logistics-column

เราต้องการที่จะอธิบายถึงความแตกต่าง ระหว่าง ”Freight Prepaid” และ “Freight Collect” โดยจะคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างได้ง่ายขึ้นโดย การแปลความหมายของแต่ละคำเป็นภาษาอังกฤษ Freight : Fare to transport the goods (ค่าระวางสินค้า) Prepaid: Pay in advance (จ่ายเงินล่วงหน้า) Collect : To take something such as money and tax (การเรียกเก็บบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เงิน และ ภาษี) ดังนั้น (Freight prepaid) คือ ผู้ส่ง (Shipper) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและในทางกลับกัน (Freight collect) คือ ผู้รับสินค้าปลายทาง (Importer/ Consignee) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าโดยจ่ายที่ปลายทาง วิดีโอเกี่ยวกับ Freight prepaid และ Freight Collect ใครจะเป็นคนจ่ายค่าบริการขนส่งสินค้า? Freight Prepaid: ผู้ส่งสินค้า เป็นผู้จ่ายค่าบริการ Freight Collect: ลูกค้าปลายทางเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า ค่าบริการขนส่งสินค้าคืออะไรบ้าง? ค่าบริการขนส่งสินค้าในที่นี้ คือ ค่าบริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนส่งทางเรือและขนส่งทางเครื่องบิน โดยเริ่มตั้งแต่ B/L (Bill of landing) สำหรับการขนส่งทางเรือ หรือ AWB (Air Waybill) สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ, ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งทางรถบรรทุก ทั้งทางด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้า, ค่าใช้จ่ายของท่าเรือ ซึ่งยังไม่รวมค่าธรรมเนียมภาษีศุลกากร ข้อกำหนดในการขนส่งสินค้า(Term,Incoterm)ที่เกี่ยวของกับ Freight prepaid และ Freight Collect Freight Prepaid: C&F, CIF, CFR, DDU, DDP Freight Collect : EXW, FOB สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Incoterm คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก link ด้านล่าง […]

To the top