This post is also available in: enEnglish ja日本語 thไทย

warehouse

เมื่อคุณกำลังมองหาคลังสินค้าในประเทศไทย ไม่เพียงแต่การพิจารณาเกี่ยวกับสถานที่แต่ยังต้องคำนึงถึงราคา ในครั้งนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของอัตราค่าบริการคลังสินค้า แม้ว่าเงื่อนไขในใบเสนอราคาจะต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับทาง supplier ของคลังสินค้าแต่ละราย แต่รายละเอียดพื้นฐานจะเหมือนกัน

ค่าภาระฝากสินค้า

เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า

หน่วยการคิดในใบเสนอราคา คือ ตัน (REVENUE TON or RT)

คือ น้ำหนักเป็นเมตริกตัน หรือปริมาตรเป็นลูกบาศก์เมตร RT จะนำมาใช้เปรียบเทียบปริมาตรหรือน้ำหนักสินค้าว่าอย่างใดที่มีจำนวนมากกว่า ใช้เป็นหน่วยในการคิดคำนวณค่าธรรมเนียม

– หน่วยของปริมาตร คือ ลูกบาศก์เมตร CBM (Cubic Meter) หรือ ลูกบาศก์เมตร (M3 )
– หน่วยของน้ำหนัก คือ ตัน (Tons)

เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของ “ขนาด” และ “น้ำหนัก” ได้อย่างไร

ตามกฎดังต่อไปนี้

【Size / weight conversion rule】

1 ลูกบาศก์เมตร = 1 ตัน (1 M3 = 1 Ton)
revenue ton

นั่นหมายความว่า ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร และน้ำหนัก 1 ตัน จะมีค่าเท่ากันซึ่งเป็นไปตามกฎ
เราสามารถคิดคำนวณค่าธรรมเนียมจากหน่วยที่มีจำนวนมากกว่า

ลองคำนวณจากตัวอย่างคำถามต่อไปนี้

คำถาม
– ปริมาตรของสินค้า : 2m (ยาว) x 1.5m (กว้าง) x 1.5m (สูง)
– น้ำหนักของสินค้า : 1.5 ตัน

ปริมาตรหรือน้ำหนักสินค้าอย่างใดที่มีจำนวนมากกว่ากัน ?


คำตอบ ปริมาตรของสินค้ามีจำนวนมากกว่า

สิ่งแรก เราจะต้องแปลงหน่วยของปริมาตรสินค้า เป็นลูกบาศก์เมตร M3 (CBM) = 2m (ยาว) x 1.5m (กว้าง) x 1.5m (สูง) = 4.5 M3
ใช้กฎ 1 M3 = 1 ตัน คือ 4.5 M3 = 4.5 Tons

เนื่องจากน้ำหนักของสินค้า คือ 1.5 ตัน และปริมาตรของสินค้าคือ 4.5 M3 (4.5 ตัน) ซึ่งถือว่าใหญ่กว่า

ค่าเสียพื้นที่เก็บสินค้าและค่าดำเนินการเก็บสินค้า

ขึ้นอยู่กับทางองค์กรที่จัดหาคลังสินค้าของแต่ละบริษัทว่าจะเรียกเก็บค่าบริการและค่าดำเนินการอย่างไร

ค่าเสียพื้นที่เก็บสินค้า

ค่าเสียพื้นที่เก็บสินค้า จะเรียกเก็บค่าบริการจากปริมาตรของสินค้าและพื้นที่จริงที่คุณใช้เพื่อจัดเก็บสินค้า

ค่าดำเนินการเก็บสินค้า

การดำเนินการเก็บสินค้า หมายถึง ค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้าว่าต้องการใช้บริการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยคนหรือใช้ รถ Folk Lift ในกรณีนี้ จะเก็บค่าใช้จ่ายเป็นตารางเมตร (M2)

การลำเลียงสินค้าเข้าคลังสินค้า

คือ การจัดการค่าใช้จ่ายเวลาที่ได้รับสินค้าที่คลังสินค้า เป็นค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าลงจากตู้คอนเทนเนอร์หรือลงจากรถบรรทุกโดยใช้รถ Forklift ไปยังพื้นที่เก็บสินค้า

ซึ่งรวมถึงการจัดการระบบของสถานะการรับสินค้าและค่าธรรมเนียม Unloading จะถูกเรียกเก็บเงินแยกต่างหาก
การคิดค่าบริการยังคงคิดเป็น ตันต่อหนึ่งเที่ยว และการเรียกเก็บเงินจะเกิดขึ้นในแต่ละครั้งที่ได้รับสินค้า

ตัวอย่าง
การลำเลียงสินค้าเข้าคลังสินค้า : 100/บาท/ตัน/เที่ยว
น้ำหนักของสินค้า : 4.5 ลูกบาศก์เมตร (1 TON)

คิดค่าบริการ เท่ากับ 100 บาท x 4.5 ลูกบาศก์เมตร = 450 บาท ต่อเที่ยว

การลำเลียงสินค้าออกจากคลังสินค้า

คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้า ณ เวลาที่จัดส่ง และการจัดการสินค้าก่อนที่จะลำเลียงสินค้าออกจากคลังสินค้าก่อนนำไปยังตู้คอนเทนเนอร์หรือรถบรรทุก

รวมถึงการจัดการระบบของสถานการณ์จัดส่งสินค้า การคิดค่าบริการยังคงคิดเป็นตันต่อหนึ่งเที่ยวเช่นกัน และค่าธรรมเนียมการ loading จะถูกเรียกเก็บเงินแยกต่างหาก

ตัวอย่าง
การลำเลียงสินค้าออกจากคลังสินค้า : 100/บาท/ตัน/เที่ยว
น้ำหนักของสินค้า : 4.5 ลูกบาศก์เมตร (1 TON)

คิดค่าบริการ เท่ากับ 100 บาท x 4.5 ลูกบาศก์เมตร = 450 บาท ต่อเที่ยว

การลำเลียงสินค้าขึ้นและลง (Loading and Unloading)

คือค่าใช้จ่ายสำหรับการนำสินค้าขึ้นและลงพาหนะ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของรถบรรทุก เทรลเลอร์ หรือตู้คอนเทนเนอร์

ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันตามยานพาหนะ

– รถบรรทุก 4 ล้อ
– รถบรรทุก 6 ล้อ
– รถพ่วง 18 ล้อ
– ตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 20 ฟุต
– ตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 40 ฟุต

ใช้พาเลทหรือไม่ใช้พาเลท

ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับการใช้พาเลท หากสินค้าไม่อยู่ในพาเลทก็จะสูงกว่าปกติ เนื่องจากจะต้องใช้แรงงานคนในการเคลื่อนย้ายสินค้า

นอกจากนี้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสินค้า ในกรณีที่มีการบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่หรือสินค้าที่มีความยาวมาก ซึ่งจะจัดการได้ยากกว่ากล่องกระดาษแข็งที่วางอยู่บนพาเลท อุปกรณ์พิเศษนี้อาจถูกใช้เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น

ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเตรียมใบเสนอราคา

เมื่อคุณตรวจสอบค่าใช้จ่ายของคลังสินค้า โปรดแจ้งข้อมูลต่อไปนี้

ข้อมูลที่จำเป็น

1. สินค้าคืออะไร

2. ประเภทของคลังสินค้า : คลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าอันตราย คลังสินค้าควบคุมความเย็น คลังสินค้าทัณฑ์บน
– ถ้าเป็นสินค้าอันตราย จะต้องมีใบ MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet หมายถึง เอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสาร
– ถ้าเป็นสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็ง ควรใช้คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิเพื่อเก็บรักษาสินค้า

3. ขนาดของสินค้า (กว้าง x ยาว x สูง)

4. น้ำหนักของสินค้า

5. ประเภทหีบห่อเพื่อบรรจุสินค้า
– กล่องกระดาษแข็ง
– กระป๋อง
– แกลอน
– กล่องไม้ทึบ
– ไม่มีการบรรจุหีบห่อ
และอื่นๆ

6. สินค้าจะต้องใช้พาเลทหรือไม่ใช้พาเลท

7. สามารถวางซ้อนได้หรือวางซ้อนไม่ได้

8. มูลค่าของสินค้า

9.ประเภทรถบรรทุก / รถพ่วงสำหรับส่งไปยังคลังสินค้า

10. ระยะเวลาการเก็บรักษา

ข้อมูลข้างต้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อการจัดเตรียมใบเสนอราคา ซึ่งใบเสนอราคานี้จะไม่มีแม่แบบของใบเสนอราคาเนื่องจากอัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสินค้า

หากเรามีข้อมูลข้างต้น เราสามารถจัดเตรียมราคาจริงและจะช่วยให้คุณสามารถคำนวณต้นทุนคลังสินค้าได้

สรุป

วิธีการจัดการคลังสินค้าจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า การใช้อุปกรณ์การ loading หรือunloading การตรวจสอบพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการจัดเก็บสินค้าแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของเรา