เราได้มีส่วนร่วมเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบัง และICDลาดกระบังซึ่งสนับสนุนโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่เราได้รับข่าวสารโดยตรงจากทางผู้ประกอบการท่าเรือแหลมฉบังและICDลาดกระบัง ท่าเรือแหลมฉบัง Mr. Sorop, ผู้บริหารด้านวิศวะกรรมของท่าเรือแหลมฉบัง ประวัติความเป็นมาของท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลักที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1987 โดยก่อตั้งที่ชลบุรี และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีขนาดพื้นที่ 6,340 ไร่ อยู่ห่างจากท่าเรือกรุงเทพประมาณ 100 กิโลเมตร และ ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ 95 กิโลเมตร สินค้าถูกลำเลียงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ทางถนน ทางรางรถไฟ ทางเรือ และอีกหลายเส้นทางที่ใช้ในการลำเลียงสินค้า ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่ใช้ระบบการบริหารจัดการระดับสากลที่ได้มาตรฐานและมีการกระจายขนส่งสินค้ามากกว่า 10,800,000 ทีอียูต่อปี และรถขนส่งสินค้ามากกว่า 2 ล้านคันที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังในการส่งออกและนำเข้าสินค้า ได้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบตู้คอนเทรนเนอร์ด้วยเครื่อง x-ray ซึ่งสินค้าในตู้คอนเทรนเนอร์ทุกตู้ จะถูกตรวจสอบด้วยระบบ X-ray นี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้โชว์ภาพประกอบการอธิบายถึงขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าภายในตู้คอนเทรนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นทีของแหลมฉบังอีกด้วย ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบังให้บริการ 3 เฟสด้วยกัน เฟสแรกเปิดให้บริการเรียบร้อยตั้งแต่ปี 1991 เฟสที่สอง เปิดให้บริการแต่ยังไม่เต็มรูปแบบซึ่งมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการก่อสร้างและพัฒนา ส่วนในเฟสสาม กำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่จะติดตั้ง Phase 1: เสร็จเรียบร้อย A0 A1-5 B1-5 Altitude – 14 m Phase 2: เปิดให้บริการบางส่วนและอยู่ระหว่างดำเนินงาน C 0 C1-3 D1-3 Altitude – 16 m Phase 3: อยู่ในขั้นตอนวางแผนและคัดเลือกผู้ดำเนินงาน E0 E1-2 F1-2 Altitude – 18.5 m ทางรางรถไฟสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟไปยัง ICD ลาดกระบัง แต่ดูเหมือนว่าการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟจาก ICD ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังยังใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งในพื้นที่ลาดกระบัง จึงต้องมีการวางแผนขยายพื้นที่ทางรางรถไฟมากขึ้น ตัวโครงการ 1 และ 2 , พื้นที่สีเขียวภายในท่าเรือ ทางรางรถไฟ จุด X-ray สามารถมองเห็นได้จากมุมสูงของตัวอาคารแหลมฉบัง เกี่ยวกับ ท่าเรือฮัทชิสัน ประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย […]