Archive List for logistics-column(3 / 3Page)

อัตราค่าบริการคลังสินค้า : วิธีการตรวจสอบคลังสินค้า การนำสินค้าเข้าและออก ใบเสนอราคา Loading/Unloading

logistics-column
warehouse

เมื่อคุณกำลังมองหาคลังสินค้าในประเทศไทย ไม่เพียงแต่การพิจารณาเกี่ยวกับสถานที่แต่ยังต้องคำนึงถึงราคา ในครั้งนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของอัตราค่าบริการคลังสินค้า แม้ว่าเงื่อนไขในใบเสนอราคาจะต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับทาง supplier ของคลังสินค้าแต่ละราย แต่รายละเอียดพื้นฐานจะเหมือนกัน ค่าภาระฝากสินค้า เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า หน่วยการคิดในใบเสนอราคา คือ ตัน (REVENUE TON or RT) คือ น้ำหนักเป็นเมตริกตัน หรือปริมาตรเป็นลูกบาศก์เมตร RT จะนำมาใช้เปรียบเทียบปริมาตรหรือน้ำหนักสินค้าว่าอย่างใดที่มีจำนวนมากกว่า ใช้เป็นหน่วยในการคิดคำนวณค่าธรรมเนียม – หน่วยของปริมาตร คือ ลูกบาศก์เมตร CBM (Cubic Meter) หรือ ลูกบาศก์เมตร (M3 ) – หน่วยของน้ำหนัก คือ ตัน (Tons) เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของ “ขนาด” และ “น้ำหนัก” ได้อย่างไร ตามกฎดังต่อไปนี้ 【Size / weight conversion rule】 1 ลูกบาศก์เมตร = 1 ตัน (1 M3 = 1 Ton) นั่นหมายความว่า ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร และน้ำหนัก 1 ตัน จะมีค่าเท่ากันซึ่งเป็นไปตามกฎ เราสามารถคิดคำนวณค่าธรรมเนียมจากหน่วยที่มีจำนวนมากกว่า ลองคำนวณจากตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ คำถาม – ปริมาตรของสินค้า : 2m (ยาว) x 1.5m (กว้าง) x 1.5m (สูง) – น้ำหนักของสินค้า : 1.5 ตัน ปริมาตรหรือน้ำหนักสินค้าอย่างใดที่มีจำนวนมากกว่ากัน ? คำตอบ ปริมาตรของสินค้ามีจำนวนมากกว่า สิ่งแรก เราจะต้องแปลงหน่วยของปริมาตรสินค้า เป็นลูกบาศก์เมตร M3 (CBM) = 2m (ยาว) x 1.5m (กว้าง) x 1.5m (สูง) = 4.5 M3 ใช้กฎ 1 […]

ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศคืออะไร

logistics-column

ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศคืออะไร เมื่อลูกค้าต้องการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ สามารถหาตัวแทนในรับผิดชอบจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ สำหรับลูกค้ารายใหม่ สามารถตรวจสอบรายละเอียดงานของผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศก่อนได้เช่นกัน บริษัทสามารถอธิบายหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศแก่ผู้ที่สนใจในธุรกิจทางด้านนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้ จะสามารถช่วยท่านให้เข้าใจมากขึ้น การส่งสินค้าคือหนึ่งในกระบวนการโลจิสติกส์ สิ่งแรกที่ต้องทำความรู้จักกับโลจิสติกส์ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของผู้ให้บริการขนส่ง ว่าเกี่ยวข้องกับหนึ่งในกระบวนของโลจิสติกส์ ในแง่ของโลจิสติกส์ คือ ระบบการจัดส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามความต้องการของลูกค้าโดยปราศจากปัญหา โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องการราคาที่ดีที่สุดในการดำเนินการทางโลจิสติกส์ งานของผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศคืออะไร Forwarders ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการจองพื้นที่ในการขนส่งสิ่งของต่างๆกับทาง Carrier (สายเรือหรือสายการบิน) Forwarders จะใช้เรือบรรทุกสินค้าหรือเครื่องบินเพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งหมายความว่า Forwarders จะไม่มีเรือและเครื่องบินของตัวเอง นี่คือข้อแตกต่างระหว่าง Forwarder and Carriers คุณอาจคิดว่าทำไมลูกค้าถึงไม่สามารถจองพื้นที่โดยตรงกับผู้ให้บริการ ลูกค้าสามารถติดต่อกับทางสายเรือและสายการบินได้โดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของสินค้า ยกตัวอย่างเช่น โรงงานขนาดใหญ่ เช่น โตโยต้า และไดกิ้น สามารถทำการจองพื้นที่กับทาง Carrier ได้โดยตรง เพราะมีปริมาณสินค้าส่งมาเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม โรงงานที่ส่งสินค้าไปยังประเทศญี่ปุ่นจะมีปริมาณแค่ 1-2 คอนเทนเนอร์ต่อเดือน ซึ่งทำให้ค่าระวางทางการขนส่งมีราคาแพง ในกรณีนี้ ลูกค้าสามารถจองผ่าน Forwarder จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เหตุผลคือ Forwarder จะจัดการสินค้าเป็นจำนวนมากจากลูกค้า ดังนั้น Forwarder สามารถหาราคาที่ดีที่สุดจากทาง Carriers ได้ ภาพรวมของการจัดการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการขนส่ง Carriers (ทางเรือและทางอากาศ) จะให้บริการขนส่งทางเรือและทางอากาศเท่านั้น แต่ตัวแทนผู้ให้บริการขนส่ง (Freight Forwarder) สามารถจัดหาโลจิสติกส์ทุกประเภทให้กับลูกค้าได้ ตามที่ได้เขียนไว้ข้างต้น แนวคิดของโลจิสติกส์คือการขนส่งสินค้าจะถูกส่งจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง โดยไม่มีปัญหาใด ๆ ซึ่งมีหลายขั้นตอนและหลายวิธีการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า 1. การส่งต่อสินค้า (การจองกับทาง Carrier : คอนเทนเนอร์ การบรรจุสินค้าแบบรวมตู้ ทางอากาศ สินค้าเทกอง) 2. การจัดส่งสินค้า (พิธีเคลียร์ศุลกากรขาเข้าและขาออก การลงทะเบียนสินค้ากับทางรัฐบาล) 3. การขนส่ง (รถพ่วงและรถบรรทุก) 4. การบรรจุ (โดยกล่องกระดาษและลังไม้ทึบ) 5. คลังเก็บสินค้า (คลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าอันตราย คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิและคลังสินค้าทัณฑ์บน) 6. การติดตั้งและการถอนการติดตั้ง (สำหรับสินค้าขนาดใหญ่และเครื่องจักร) 7. รถบรรทุกข้ามพรหมแดน ตัวแทนผู้ให้บริการรับส่งสินค้า จะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เรือส่งสินค้า เครื่องบิน คลังสินค้ารถบรรทุก รถเทรลเลอร์ วัสดุบรรจุหีบห่อและเครื่องจักรขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเรา […]

วิธีการหาผู้บริการรับจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ

logistics-column

วิธีค้นหาและจำแนกผู้บริการรับจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในประเทศไทย มีผู้รับบริการขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่ละบริษัทจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน จึงขออธิบาย 4 วิธีในการจำแนกผู้บริการรับจัดส่งสินค้าที่ดีเพื่อเลือกโลจิสติกส์ของคุณ 1. งานที่สำคัญที่สุดในฐานะผู้ให้บริการรับจัดส่งสินค้า อะไรคือสิ่งที่ดีในการเลือกบริการรับจัดส่งสินค้า อาจจะเป็นราคา การบริการ ภาพลักษณ์ของบริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่า จะตัดสินจากจุดใดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงานบริการรับจัดส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้ขนส่งและลูกค้ายอมรับว่าดีในเลือกบริการรับจัดส่งสินค้า นั่นคือจองพื้นที่ ถ้าไม่มีพื้นที่ ก็จะไม่มีการจัดส่งสินค้า “พื้นที่ว่าง” หมายถึง พื้นที่บรรทุกสินค้าบนเรือและเครื่องบิน ในทุกวันและทุกสัปดาห์จะมีสินค้าจำนวนมากจัดส่งไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่น เรือหนึ่งลำ สามารถบรรทุกสินค้าได้ 20,000 TEU (ประมาณ ตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต จำนวน10,000 ตู้) ซึ่งจะต้องบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เต็มพื้นที่ ใช้ในการขนส่งทางเครื่องบินเช่นกัน แต่ทั้งนี้ จะมีขีดจำกัดของพื้นที่บนเรือและเครื่องบินในการขนส่งสินค้า ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องส่งสินค้าตามเวลาที่กำหนดโดยใช้พื้นที่ที่จำกัดนี้ และถ้าหากลูกค้าไม่สามารถหาพื้นที่ได้ ลูกค้าจะต้องหาพื้นที่อื่นๆ ของเรือหรือเครื่องบินภายในสัปดาห์เดียวกันหรือสัปดาห์ถัดไป ซึ่งนั่นหมายความว่า การขนส่งสินค้าจะทำได้ยากตามตารางที่กำหนด ปัญหาของตารางเวลา ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและด้านการค้าทุกคนทำงานตามเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น สายการผลิตในโรงงานจะหยุดทำงาน หากวัตถุดิบในการผลิตหมด ในกรณีนี้ หากคนงานต้องหยุดทำงาน ทำให้ทางบริษัทจะไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ตามกำหนด ในธุรกิจของงานขายส่ง บริษัทจะสูญเสียโอกาสในการขายสินค้า หากสินค้าไม่ได้จัดส่งตามเวลาที่กำหนด ถ้าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ขายในช่วงเทศกาล เช่น คริสต์มาสและฮาโลวีน ระยะเวลาการขายจะสั้นลง ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียโอกาสในการขาย หากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นเรื่องของค่าตอบแทน ทำไมถึงไม่สามารถหาพื้นที่ได้ ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น พื้นที่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้รับบริการขนส่งสินค้า ถ้าหากทางผู้รับบริการขนส่งสินค้าไม่สามารถหาพื้นที่ได้ นั่นเป็นเพราะปริมาณการขนส่งสินค้าที่น้อย ผู้รับบริการขนส่งสินค้าจะทำหน้าที่ในการจองพื้นที่ในการขนส่งสินค้ากับทางCarriers (การขนส่งทางเรือและอากาศ) ซึ่งจะเป็นผู้จัดหาพื้นที่บนเรือและพื้นที่บนเครื่องบินให้กับเรา ทางผู้รับบริการขนส่งสินค้าที่ส่งสินค้ากับทาง Shipping Line เป็นประจำจะสามารถหาพื้นที่การจัดส่งสินค้าได้ง่ายเพราะมีปริมาณสินค้าจำนวนมาก อีกทั้งยังเพิ่มความสัมพันธ์อันดีงามด้วยเช่นกัน แต่ทางผู้รับบริการขนส่งสินค้าจะไม่สามารถหาพื้นที่สองถึงสามวันได้ก่อนวันคืนตู้ 2.การแข่งขันระหว่างการขนส่งสินค้าทางเรือและอากาศ โลจิสติกส์ เป็นต้นทุนสำหรับลูกค้า ตราบเท่าที่สินค้าจัดส่งได้อย่างปลอดภัยและตามกำหนดเวลา หากสินค้ามีขนาดเล็กแต่มีมูลค่ามาก จะไม่ส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่งสินค้า แต่ถ้าสินค้ามีขนาดใหญ่และเบา เช่น โฟมและผลิตภัณฑ์ที่เป็นผง ซึ่งมีมูลค่าไม่สูง จะส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งลูกค้าจะต้องลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรให้มากขึ้น ต้นทุนที่แตกต่างจากผู้ให้บริการ (Carriers) ในแต่ละผู้รับบริการขนส่งสินค้าจะไม่ได้รับอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันจากผู้ให้บริการ บางบริษัทอาจจะส่งออกเพียงแค่ 10 containers ต่อเดือน หรือบางบริษัทส่งออกมากกว่า 2,000 ตู้ต่อเดือน การที่จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งออกสินค้าว่ามากหรือน้อย อัตราการขายที่แตกต่างจากแต่ละผู้ให้บริการรับส่งสินค้า ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและตัวแทนขายในการคิดค่าบริการว่าจะเพิ่มผลกำไรมากจากต้นทุนหรือไม่ 3. ผลการปฏิบัติงานของตัวแทนขาย ความรู้และประสบการณ์ มีหลายกรณีที่คุณภาพของการบริการเปลี่ยนไป เมื่อตัวแทนขาย PIC (Person […]

ใบตราส่งสินค้าทางทะเล (BILL OF LADING) คืออะไร สามารถอธิบายหน้าที่และขั้นตอนการทำงานได้ดังภาพต่อไปนี้

logistics-column
bl flow

ใบตราส่งสินค้าทางทะเล (Bill Of Loading) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เราจะอธิบายบทสรุปและบทบาทของใบตราส่งสินค้าทางทะเลด้วยโครงร่างก่อนและทำความเข้าใจรายละเอียดภายหลัง วิดีโอต่าง ๆ เกี่ยวกับ B/L – YouTube คำอธิบายง่าย ๆ เกี่ยวกับหน้าที่และขั้นตอนการออก B/L ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า สำหรับมือใหม่! ประเภทของ B/L ความแตกต่างระหว่าง Original B/L, Surrendered B/L, Waybill ใบตราส่งสินค้าทางทะเล คืออะไร ใบตราส่งสินค้าทางทะเล คือ เอกสารในการรับสินค้าและแลกเปลี่ยนสินค้า การออกใบตราส่งสินค้าทางทะเลนั้น เป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทเรือที่จะขนส่งสินค้าทางเรือของประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลาย ถ้าหากไม่มีใบตราส่งสินค้า ทางผู้นำเข้าจะไม่สามารถรับสินค้าที่ท่าเรือได้และสามารถนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงได้เช่นกัน ใบตราส่งสินค้าทางทะเล จะถูกส่งไปยังผู้ขาย (ผู้ส่งออก) หลังจากที่ถูกออกโดยบริษัทเรือ ในทางการค้าระหว่างประเทศ ใบตราส่งสินค้าทางทะเลจะถูกใช้ประโยชน์สำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทางผู้ซื้อ (ผู้นำเข้า) ไม่ได้ทำการจ่ายค่าสินค้า แม้ว่าสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางแล้วก็ตาม ทางผู้ส่งออก (ผู้ขาย) สามารถป้องกันความเสี่ยงในการเก็บเงินโดยการระงับใบตราส่งสินค้าทางทะเลได้ ในทางตรงกันข้ามกัน มีกรณีที่ใบตราส่งสินค้าทางทะเลไม่ได้ส่งมาจากผู้ขาย (ผู้ส่งออก) แม้ว่าทางผู้นำเข้า (ผู้ขาย) จะจ่ายเงินค่าสินค้าแล้วก็ตาม ซึ่ง L/C (Letter of Credit) จะถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับ L/C จะอธิบายในคอลัมน์อื่น แต่การใช้ L/C สามารถใช้ได้ทั้งผู้ส่งออก (ผู้ขาย) และผู้นำเข้า (ผู้ซื้อ) ในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ ***อธิบายได้ดังรูปภาพต่อไปนี้ หน้าที่และประเภทของใบตราส่งสินค้าทางทะเล ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าทางทะเล หรือ BILL OF LADING โดยปกติแล้ว ใบตราส่งสินค้าทางทะเล จะถูกใช้ในการซื้อขายระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อได้รับต้นฉบับของใบตราส่งสินค้าทางทะเล จะสามารถนำสินค้าออกจากท่าเรือได้ ใบตราส่งสินค้าทางทะเลมี 3 ใบ เหตุผลที่มี 3 ใบ เพื่อป้องกันการสูญหาย ใบตราส่งสินค้าทางทะเลจะถูกส่งจากผู้ส่งออกไปหาลูกค้าโดยบริการขนส่งทางอากาศ เช่น DHL หรือ FEDEX แทนที่จะส่งต้นฉบับของ B/L ครั้งละ 3 ฉบับในเวลาเดียวกัน สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการสูญหายของ B/L โดยการส่งอย่างแบ่งแยกเป็นสองและสามเที่ยวบิน แต่ยังไม่เคยมีบริษัทไหนแยกออกเป็น 3 ครั้ง เพียงเพื่อป้องกันความเสี่ยงนั้น Surrendered B/L […]

เงื่อนไขการขนส่งระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า Incoterm (International Commercial Terms)

logistics-column
FOB

เงื่อนไขการขนส่งระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า Incoterm (International Commercial Terms) เงื่อนไขนี้กำหนดขึ้นโดย สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce) เพื่อสร้างกติกาสากลให้คู่ค้าทั่วโลกได้เข้าใจเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อ และผู้ขาย ภาระค่าใช้จ่าย และการประกันภัย มีทั้งหมด 11 ข้อตกลง โดยมี 6 เงื่อนไขหลักๆที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน Incoterm เป็นเงื่อนไขที่ทุกคนยอมรับกันว่าสามารถใช้ในระดับสากล ซึ่งจะอธิบายเงื่อนไข 6 ข้อหลักดังต่อไปนี้ INCOTERMS EXW/FOB/CFR/CIF/DAP/DDP – YouTube EXW (Ex Works) ผู้ขายส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย เช่น โรงงาน หรือโรงพักสินค้า ฯลฯ โดย ผู้ซื้อรับภาระในการดำเนินการ ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงหลังจากการส่งมอบของแล้ว เช่น การขนของขึ้นพาหนะขนส่ง การผ่านพิธีการส่งออก เป็นต้น ข้อตกลงนี้เหมาะสำหรับการค้าในประเทศ อาจใช้ในกรณีที่มีการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบ หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขาย ผู้ขายต้องจัดเตรียมสินค้า ใบกำกับสินค้า และหลักฐานอื่นใดที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้ขายไม่มีภาระในการขนถ่ายสินค้าให้กับผู้ซื้อ ไม่มีภาระในการดำเนินการผ่านพิธีการส่งออก ผู้ขายไม่มีภาระที่จะทำสัญญารับจัดการขนส่ง และสัญญาประกันภัย ทั้งนี้ ผู้ขายต้องชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อสินค้า การดำเนินการตรวจสอบ (เช่น การตรวจสอบคุณภาพ การวัด การชั่งน้ำหนัก การนับจำนวน) และรับภาระความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าจนกระทั่งสินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว ผู้ขายต้องให้ความช่วยเหลือ จัดหาเอกสาร และให้ข้อมูลตามที่ผู้ซื้อต้องการเพื่อการส่งออก เช่นใบอนุญาตการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของสินค้า หรือการมอบอำนาจอย่างเป็นทางการอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการส่งออก การนำเข้า และ/หรือเพื่อการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง ด้วยความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อ หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องรับภาระความเสี่ยงทั้งหมดต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้านับตั้งแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว หรือวันที่ได้ตกลงกันไว้หรือวันที่สิ้นสุดของระยะเวลาสำหรับการส่งมอบ ผู้ซื้อต้องชำระราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย จ่ายค่าจัดหาใบอนุญาตส่งออกและนำเข้า หรือการมอบอำนาจใด ๆ รวมทั้งชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบใด ๆ ที่ถูกกำหนดให้ต้องดำเนินการก่อนการส่งออก การตรวจสอบซึ่งถูกกำหนดให้ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศส่งออก ผู้ซื้อมีหน้าที่ผ่านพิธีการส่งออก ชำระค่าภาษีอากร และค่าภาระอื่น ๆ ทั้งหมด FOB (Free On Board) ผู้ขายส่งมอบของลงเรือ ณ ท่าส่งออกที่ได้ระบุไว้ ผู้ซื้อต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมทั้งความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือสูญหายที่เกิดขึ้นเมื่อของอยู่บนเรือ ข้อตกลงนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขาย ผู้ขายต้องจัดเตรียมสินค้า ใบกำกับสินค้า และหลักฐานอื่นใดที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าโดยการนำไปวางไว้บนเรือ […]

To the top