Posted on: August 1, 2019 / Last updated: June 12, 2024
คำอธิบายอย่างอย่างง่ายสำหรับเงื่อนไข CIF และ CFR!
CONTENTS
CIF คืออะไร ?
CIF ย่อมาจาก Cost, Insurance, and Freight.
โดยทั่วไปแล้ว จะตามหลังด้วยชื่อ Port ปลายทาง หรือ Port นำเข้าที่ระบุไว้
ซึ่งหมายถึงเงื่อนไขที่อยู่ภายใต้การชำระค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัยล่วงหน้าโดยผู้ส่งออก
ในเงื่อนไข CIF ผู้ส่งออกสินค้าจะรับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัยที่ Port จุดหมายปลายทาง [br num=”2″]
ค่าประกันภัยในเงื่อนไข CIF จะถูกรับผิดชอบโดยผู้ขาย (หรือผู้ส่งออก) ซึ่งถูกกำหนดจำนวนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในการขอใบถิ่นกำเนิดกับสภาหอการค้านานาชาติ
หากทางผู้ซื้อ (หรือผู้นำเข้า) ต้องการความคุ้มครองที่มากขึ้นของเงื่อนไขการประกันภัย พวกเขาจะต้องมีการตกลงกันในสัญญาให้เรียบร้อย
ลักษณะของเงื่อนไข CIF
・ ในแง่ของต้นทุนและความเสี่ยงของการจัดส่งสินค้า ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างว่า
ลักษณะของเงื่อนไข CIF คือ ต้นทุนและความเสี่ยงของการจัดส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ส่งออกไปยังสถานที่ของผู้นำเข้า [br num=”2″]
การรับผิดชอบความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายสินค้า จากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้าบนพื้นที่เรือส่งสินค้าที่พอร์ตของผู้ส่งออก ซึ่งจัดเป็นสถานที่ส่งมอบสินค้า
ในทางตรงกันข้าม ค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัยในการขนส่งทางทะเล จะถูกชำระล่วงหน้าโดยผู้ส่งออก [br num=”2″]
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ถึงแม้ความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้าจะเกิดขึ้นบนพื้นที่เรือขนส่งสินค้าในพอร์ตของผู้ส่งออก แต่ค่าขนส่งสินค้าและค่าประกันภัย จะถูกจ่ายล่วงหน้าโดยผู้ส่งออก ณ สถานที่ส่งออก
ในเงื่อนไข CIF ผู้ส่งออกจะรับผิดชอบค่าขนส่งสินค้า ซึ่งเรียกว่า Freight Prepaid หรือ (fee prepayment). [br num=”2″]
ซึ่งถูกกำหนดว่า การประกันภัยสำหรับเงื่อนไข CIF ประกันภายใต้เงื่อนไขของ FPA เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำในการค้ำประกัน
หากผู้นำเข้าต้องการประกันภัยที่ครอบคลุมมากขึ้นนั้น จะต้องทำเงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อย
ต้นทุนสินค้าและความเสี่ยงเปลี่ยนจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้าในเงื่อนไข CIF ได้อย่างไร ?
・ ความรับผิดชอบของผู้ส่งออกจะหมดภาระลง เมื่อสินค้าถูกยกขึ้นไปวางบนเรือในท่าเรือประเทศผู้ส่งออก
และรับผิดชอบค่าใช้ขนส่งสินค้า
ภายใต้เงื่อนไข CIF การขนส่งสินค้าจะสิ้นสุดลงเมื่อสินค้ามีการจัดส่ง ผู้รับผิดชอบความเสี่ยงจะถูกเปลี่ยนจากผู้ส่งออกเป็นผู้นำเข้าเมื่อสินค้าถูกวางลงในเรือ [br num=”2″]
ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับค่าปประกันภัยและ ค่า Shipping ตั้งแต่สินค้าถูกยกลงจากเรือที่ท่าเรือนำเข้าสินค้า
เงื่อนไข CFR
CFR เป็นชื่อย่อของ Cost and Freight และมักจะตามด้วยชื่อของพอร์ตปลายทาง / พอร์ตนำเข้าที่ได้ระบุ
เช่น CFR โตเกียว
ซึ่งเงื่อนไข CFR นี้ ทางผู้ส่งออกจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายประกันภัย [br num=”2″]
การส่งสินค้าและการโอนสินค้าจะเหมือนเงื่อนไข CIF คือ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้าที่ท่าเรือส่งออกสินค้า
ในทางปฏิบัติ อาจแสดงเป็นตัวย่อ C&F ซึ่งเป็นการแสดงออกแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม CFR เป็นชื่อที่ถูกต้อง จึงแนะนำให้ใช้ CFR
สรุป
ในครั้งนี้ เราได้อธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขการขนส่งสินค้าแบบ CIF และ CFR
เงื่อนไข CIF และ CFR จัดอยู่ในกลุ่ม C ของ Incoterms ซึ่งภาระต้นทุนและความเสี่ยง จะถูกเปลี่ยนจากผู้ส่งออกสินค้าเป็นผู้นำเข้าในจุดที่แตกต่างกัน [br num=”2″]
เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เราขอแนะนำให้ท่านแยกภาระความเสี่ยง ออกจากค่าใช้จ่ายประกันภัยและค่าขนส่งสินค้า เพื่อความเข้าใจเงื่อนไขการส่งสินค้าแบบอื่นได้ง่ายขึ้น
เราสามารถจัดการความสับสนโดยการคิดอย่างเป็นระบบด้วย 3 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
・ สถานที่จัดส่งสินค้า
・ จุดที่เกิดภาระถ่ายโอนความเสี่ยง (จากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้า)
・ จุดที่เกิดภาระถ่ายโอนค่าใช้จ่าย (จากผู้ส่งออกไปยังผู้นำเข้า) [br num=”2″]
หากคุณจะต้องใช้เงื่อนไขข้างต้นสำหรับ Container Shipping จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการ Loading
นอกจากนี้ การประกันภัยสำหรับผู้ส่งออกจะต้องมีความครอบคลุมขั้นต่ำ รวมถึงต้องยืนยันกับคู่ค้าด้วย [br num=”2″]
เงื่อนไข CIF เป็นข้อตกลงที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง